ทนายสายตรง.com

หลักการการขออายัดที่ดิน

หลักการการขออายัดที่ดิน

ความหมาย   อายัดที่ดิน หมายถึง การขอให้ระงับการจดทะเบียนหรือการเปลี่ยนแปลงหางทะเบียน เกี่ยวกับที่ดินไว้ซึ่งระยะเวลาหนึ่ง

กฎหมายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง

– ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๘๓

– คำสั่งกระหรวงมหาดไทย ที่ ๖๓๕/๒๕๔๗ ลงวันที่  ๒๓  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เรื่อง การอายัดที่ดิน

หลักการ

มาตรา ๘๓ ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินใดอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ มีความประสงค์จะขออายัดที่ดิน ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอได้นำมาแสดงแล้ว ถ้าเห็นสมควรเชื่อถือก็ให้รับอายัดไว้มีกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สั่งรับอายัด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าการอายัดสิ้นสุดลง และผู้นั้นจะขออายัดซ้ำในกรณีเดียวกันอีกไม่ได้

ถ้าผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านว่า การอายัดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนพยานหลักฐานเท่าที่จำเป็นเมื่อเป็นที่เชื่อได้รับอายัดไว้โดยไม่ชอบตัวยกฎหมาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งยกเลิกการอายัดนั้น และแจ้งให้ผู้ขออายัดทราบ

๑. องค์ประกอบและสาระสำคัญการอายัดที่ดิน

– องค์ประกอบ

คำว่า  “อายัด”  ตามมาตรานี้ หมายถึง การขอให้ระงับการจดทะเบียน หรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

คำว่า  “ผู้มีส่วนได้เสีย”  หมายถึง ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องร้องบังคับให้เจ้าของที่ดินทำการจะทะเบียน หรือบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนแก่ดนได้

ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดิน   ตัวอย่างเช่น   ผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์  ทายาทของเจ้ามรดก  ผู้รับคำมั่นจะให้ที่คิน หรือสามีในกรณีที่เกี่ยวกับสมรส เป็นต้น  และต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่ขออายัดนั้นโดยตรง

“อันอาจจะฟ้องบังคับ”   พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับอายัดไม่ต้องพิจารณาสอบสวนลึกซึ้งไปถึงว่า ผู้ขออายัดฟัองคดีแล้วจะแพ้หรือชนะเมื่อผู้ขออายัดเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันอาจจะนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้แล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะต้องรับอายัดไว้

“การจดทะเบียน”   หมายถึง การจดบันทึก หลักฐานของผู้มีสิทธิลงไปในโฉนดที่ดิน เช่น การจดทะเบียนขาย   ให้ จำนอง   หรือขายฝาก   เป็นต้น

๓. สาระสำคัญในคำขออายัด

การรับคำขออายัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการพิจารณารับอายัดที่ดิน ดังนั้น ในคำขออายัดควรมีสาระสำคัญในคำขอเพื่อการพิจารณา ตังนี้

(๑) ผู้ขออายัดเป็นผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินนี่ขออายัดอย่างไร

(๒) การมีส่วนได้เสียนั้นมีผลโตยตรงกับที่ดินที่ขออายัดและอาจฟ้องบังคับให้จดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้หรือไม่

(๓) มีหลักฐานอะไรมาแสดงประกอบคำขอ

(๔) มีความจำเป็นอย่างไรจึงขออายัด

(๕) เมื่ออายัดแล้วจะไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลในประเด็นใด

(๖) ถ้าที่ดินที่ขออายัดได้มีการโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วจะฟ้องบุคคลภายนอกด้วยหรือไม่ ถ้าฟ้องจะฟ้องในประเด็นใด มีเหตุผลอย่างไร

(๙) การขออายัดต้องยื่นคำขออายัด ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

เอกสารหลักฐานที่ผู้ขออายัดนำไปแสดงประกอบคำขออายัดต้องใช้ต้นฉบับพร้อมสำเนาที่ผู้ขออายัดลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องตามข้อ ๑๓ วรรคท้าย ของคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๖๓๕/๒๕๔๗

 

( ๔ มกราคม ๒๕๖๕ )

ทนายสายตรง.com
ปรึกษาอรรถคดีและว่าความทั่วราชอาณาจักร โดยทนายความชำนัญพิเศษเฉพาะทาง

บทความกฎหมาย

หลักการการขออายัดที่ดิน

ความหมาย   อายัดที่ดิน หมายถึง การขอให้ระงับการจดทะเบียนหรือการเปลี่ยนแปลงหางทะเบียน เกี่ยวกับที่ดินไว้ซึ่งระยะเวลาหนึ่ง ㆍ กฎหมายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง – ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๘๓ – คำสั่งกระหรวงมหาดไทย ที่ ๖๓๕/๒๕๔๗ ลงวันที่  ๒๓  ธันวาค

อ่านต่อ »

ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถคืน ตามมาตรา 573

#ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถคืน  ตามมาตรา 573  ต้องเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นผู้ผิดสัญญา หากผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อก่อนส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อย่อมไม่อาจใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาตามมาตรา 573 ได้ #แต่หากผู้เช่า

อ่านต่อ »

ฎีกาฉบับเต็ม

#ไฟแนนซ์มีข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม  เป็นโมฆะ ? #ผู้ค้ำประกันทำสัญญายินยอมเป็นลูกหนี้ร่วมแทนสัญญาค้ำประกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย ? #โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๒๕/๒๕๖๓  ( ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ ) เรื่อง  เช่าซื้อ  ค้ำ

อ่านต่อ »