ทนายสายตรง.com

ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถคืน ตามมาตรา 573

ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถคืน ตามมาตรา 573

#ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถคืน  ตามมาตรา 573  ต้องเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นผู้ผิดสัญญา

หากผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อก่อนส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อย่อมไม่อาจใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาตามมาตรา 573 ได้

#แต่หากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาและผู้ให้เช่าซื้อยอมรับรถคืน เป็นการเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคา

คงมีสิทธิ์แต่เรียกค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์

#โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ?

 

จำเลยที่ ๑  ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดถี่ ๑๐ ประจำวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นมา    ต่อมาวันที่ ๒๔ มีนาคม

๒๕๕๕ จำเลยที่ ๒  นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อมาคืนแก่ธนาคาร ท. ผู้ให้เช่าซื้อก่อนครบกำหนดผิดนัด ๓ งวด   ซึ่งตามข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ๓ งวด ติดต่อกัน และผู้ให้เช่าซื้อได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระภายใน ๓๐ วัน แล้วผู้เช่าซื้อไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าว   ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้  ธนาคาร ท. ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากยังไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันเพราะเหตุจำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา

สัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงว่าให้ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้โดยการส่งมอบรถคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ณ ที่ทำการหรือภูมิลำเนา

ของผู้ให้เช่าซื้อถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญา    การที่จำเลยที่ ๒ ส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนธนาคาร ท. ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๓ ที่บัญญัติให้ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้   ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนแก่เจ้าของนั้น  การบอกเลิกสัญญากรณีนี้ต้องเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อ เมื่อจำเลยที่ ๑ ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อก่อนส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อ จำเลยที่ ๑ ผู้เช่าซื้อย่อมไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา ๕๗๓

ธนาคาร ท. ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ ๒ โดยไม่ปรากฏว่าธนาคาร ท. โต้แย้งคัดค้าน   ถือว่า

คู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ธนาคาร ท. ได้รับรถคืนอันเป็นการเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุอื่น  มิใช่เหตุที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อตกลงในสัญญาหรือโดยผลแห่งกฎหมาย   ทั้งตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคากรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืนธนาคารท.ไม่อาจเรียกเอาค่าขาดราคาจากจำเลยทั้งสอง  คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์ระหว่างจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อถึงวันที่จำเลยที่ ๒ ส่งมอบรถคืนแก่ธนาคาร ท. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๓๙๑ วรรคสาม

โจทก์คำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะ

ชำระเสร็จ   คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นการเกินคำขอของโจทก์

 

โจทก์ฟ้องว่า   โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้จดทะเบียน

เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์พ.ศ.๒๕๔๑  ส่วนธนาคาร K  มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด  เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘  บริษัท K  ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เช่าซื้อรถยนต์ทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องในหลักประกันแห่งหนี้ (ถ้ามี)  ตลอดจนสิทธิที่จะได้รับหนี้ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อ  ดอกเบี้ย  เบี้ยปรับ  ค่าขาดประโยชน์ค่าทวงถาม  ค่าเสียหาย และ/หรือเงินจำนวนใดๆ ที่ค้างชำระซึ่งแม้จะถึงกำหนดชำระก่อนหรือในหรือภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้อง โดยไม่ว่าสิทธิดังกล่าวจะเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ก็ตามโดยรวมถึงจำเลยทั้งสองในคดีนี้ให้แก่โจทก์  เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔

จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว ยี่ห้อ MMM  หมายเลขทะเบียน ๑๒๓๔๕๖  กรุงเทพมหานคร ไปจากธนาคาร K

ในราคาค่าเช่าซื้อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม  ๑๘๔.๓๒๐ บาท ตกลงชำระเงินค่าเช่าซื้อเดือนละ  ๓,๘๔๐  บาท รวม  ๔๘  งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ และงวดต่อไปทุกวันที่ ๒๕ ของเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระค่าเช่าซื้อครบ   หากจำเลยที่ ๑  ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ๓ งวด ติดต่อกัน และธนาคาร K ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑  ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน ๓0 วัน นับจากวันที่จำเลยที่ ๑ ได้รับหนังสือแล้ว  จำเลยที่ 1 ละเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น  ธนาคาร MMM มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที ในกรณีที่เจ้าของบอกเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองรถ   หากเจ้าของจะนำรถออกขายให้แก่บุคคลอื่น  เจ้าของจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน เพื่อใช้สิทธิซื้อรถในราคาเท่ากับมูลหนี้  ส่วนที่ขาดตามสัญญานี้ และกรณีที่เจ้าของได้รถกลับคืนมา เจ้าของตกลงว่าหากนำรถออกขายได้ราคาเกินกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้   เจ้าของจะคืนเงินส่วนเกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ   แต่หากได้ราคาน้อยกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดส่วนที่ขาดเฉพาะในกรณีที่เจ้าของได้ขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น

จำเลยที่ ๒ ได้ตกลงทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่๑ จะต้องชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร MMMโดย

ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หลังจากที่จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรับรถยนต์ไปจากธนาคาร MMM  จำเลยที่ ๑  ได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้แก่ธนาคาร MMM  เพียง ๙ งวด คิดเป็นค่าเช่าซื้อ  ๓๔,๕๖๐ บาทและผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ ๑๐ ประจำวันที่ ๒๕ มกราคม  ๒๕๕๕  เป็นต้นมา   โดยมีค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ ๑ ยังคงค้างชำระ ๑๔๙,๗๖๐ บาท ต่อมาจำเลยที่ ๒ ได้ขอยกเลิกสัญญา  เนื่องจากไม่สามารถผ่อนชำระต่อได้ และได้นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อมาคืนให้แก่ธนาคาร MMM  เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕  (ที่ถูก คือวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ ) ธนาคาร MMM ได้รับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนในสภาพชำรุดทรุดโทรมอันเกิดจากการใช้งานโดยปราศจากการดูแลรักษาของผู้เช่าซื้อ หลังจากธนาคาร…ได้กลับเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อแล้ว ธนาคาร MMM มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและ/หรือผู้ค้ำประกันมาไถ่ถอนรถคืน หลังจากผู้เช่าซื้อและหรือผู้ค้ำประกันได้รับหนังสือแจ้งให้ใช้สิทธิไถ่ถอนรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนแล้ว   แต่เพิกเฉยไม่มาติดต่อไถ่ถอนรถคืน ธนาคาร MMM มอบหมายให้บริษัทประมูล   ทำการขายรถยนต์โดยวิธีประมูลเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๕ โดยมีผู้เข้าประมูลซื้อไปในราคา ๘๘,๐๐๐ บาท หลังจากธนาคาร MMM ได้รับเงินจากการประมูลขายรถยนต์คันที่เช่าซื้อแล้วนำไปหักทอนกับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ จำเลยยังคงมีหนี้ค้างชำระต่อธนาคาร MMM อยู่อีกเป็นเงิน ๖๑.๗๖๐ บาท  ต่อมาเมื่อธนาคาร MMM ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์   โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องโดยการติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ที่ค้างชำระหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่จำเลยทั้งสองยังเพิกเฉย  การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย  จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้เงิน ๖๑,๗๖๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑ ๕ ต่อปี นับจากวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันหักทอนบัญชีเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์ โดยคิดดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน ๔๗,๙๖๘.๒๐ บาท และจำเลยที่ ๑ จะต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์ในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ ครอบครองและใช้รถยนต์คันที่เช่าซื้อนับจากวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ ๑ ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นต้นมาจนถึงวันที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนในวันที่  ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นระยะเวลา  ๕๙  วัน   โจทก์ขอคิดในอัตรา ๒00 บาท ต่อวัน รวมเป็นค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์ ๑๑,๘๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้นที่จำเลยที่ ๑ ต้องชำระให้โจทก์ ๑๒๑.๕๒๘.๒๐ บาท จำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม   จึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย   ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน ๑๒๑,๕๒๘.๒0 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีของต้นเงิน ๗๓,๕๖๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี   ต่อมา

ธนาคาร MMM นำรถออกขายโดยไม่ชอบ ไม่สุจริต ไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบจนขายได้ในราคา ๘๘,000 บาท ซึ่งเป็นราคาต่ำเกินสมควร เป็นการประมูลขายไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมจำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อรวม ๙ งวด ผิดนัดชำระงวดที่ ๑๐  เดือนมกราคม ๒๕ ๕ ๕ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ แล้วจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซี้อคืน   จำเลยที่ ๑  จึงต้องรับผิดเพียง  ๓  งวด เป็นเงิน  ๑๑,๕๒0  บาท   สัญญาเช่าซื้อระงับไปแล้ว   คู่กรณีจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม   โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์แล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย อีกทั้งสูงเกินส่วน ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอให้ยกฟ้อง

 

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน ๒๗,๕0๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย

อัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม ๗, 000 บาท สำหรับค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี

 

จำเลยทั้งสองฎีกา    โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกดดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า   “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ ๑๗

มีนาคม ๒๕๕๘ จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว  หมายเลขทะเบียน กรุงเทพมหานคร ไปจากธนาคาร MMM ในราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม  ๑๘๔,๓๒๐ บาท ตกลงผ่อนชำระเดือนละ ๓,๘๔0 บาท รวม ๔๘ งวด  เริ่มชำระงวดแรกวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ และชำระงวดต่อไปทุกวันที่  ๒๕ ของเดือนถัดไปจนกว่าจะครบ หากผิดนัด ๓ งวด ติดต่อกัน และธนาคาร MMM มีหนังสือบอกกล่าว

ทวงถามให้ชำระภายใน ๓0 วัน แล้วจำเลยที่ ๑ ไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าว ธนาคาร MMM  มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เอกสารหมายจ.๖

จำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ ๑ โดยตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกัน

เอกสารหมายจ.๘ จำเลยที่ ๑ รับรถยนต์ไปแล้ว แต่ชำระค่าเช่าซื้อเพียง ๙ งวด   แล้วผิดสัญญาตั้งแต่งวดที่ ๑๐ ประจำวันที่ ๒๕ เดือนมกราคม ๒๕๕๕  ต่อมาวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ จำเลยที่ ๒  เป็นผู้ติดต่อขอส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน    ธนาคาร MMM นำรถออกขายทอดตลาดได้เงิน๘๘,๐๐๐  บาท ต่อมาธนาคาร MMM โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องและขอให้ชำระหนี้ตามเอกสารหมาย จ.๑๕

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระค่าขาดราคาและค่าขาด

ประโยชน์แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ?

โดยจำเลยทั้งสองฎีกาว่า   ภายหลังจำเลยที่ ๑  ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ ชำระค่า

เช่าซื้อและใช้สิทธิบอกกสัญญา   เมื่อจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์     โจทก์รับไว้โดยไม่คัดค้านหรืออิดเอื้อนถือว่า

โจทก์และจำเลยตกลงสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายซึ่งเป็นการเลิกสัญญาโดยเหตุอื่น   โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อตกลงในสัญญา

จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดค่าขาดราคาและค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์

เห็นว่า   เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดที่ ๑๐ ประจำวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕

เป็นต้นมา ต่อมาวันที่ ๒๔  มีนาคม ๒๕๕๕ จำเลยที่ ๒ นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อมาคืนแก่ธนาคาร MMM ก่อนครบกำหนดผิดนัด ๓ งวด  ซึ่งตามข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.๖ ข้อที่ ๑๐.๑  กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ๓ งวด ติดต่อกัน และผู้ให้เช่าซื้อได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระภายใน ๓๐ วัน แล้ว  ผู้เช่าซื้อไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าว   ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้  ธนาคาร MMM ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อจึงยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากยังไม่เป็นไปตามเงื่อนของสัญญาดังกล่าว สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันเพราะเหตุจำเลยที่ ๑ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา ที่จำเลยที่ ๒ นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนแก่ธนาคาร MMM นั้น   ตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงว่าให้ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้  โดยการส่งมอบรถคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ณ ที่ทำการหรือภูมิลำเนาของผู้ให้เช่าซื้อถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญา  จึงถือไม่ได้ว่า  เป็นการบอกเลิกสัญญาตามข้อสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.๖

แต่การที่จำเลยที่ ๒ ส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนธนาคาร MMM  จะเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมาย

แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๓ ที่บัญญัติให้ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้   ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนแก่เจ้าของ   ซึ่งการบอกเลิกสัญญากรณีนี้ต้องเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อ   เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ ๑ ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อก่อนส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อ จำเลยที่ ๑  ผู้เช่าซี้อย่อมไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

แต่อย่างไรก็ตาม  การที่ธนาคาร MMM ยอมรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ ๒  เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕    โดย

ไม่ปรากฏว่าธนาคาร MMM ได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ธนาคาร MMM ได้รับรถคืน อันเป็นการเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุอื่น  มิใช่เหตุที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อตกลงในสัญญาหรือโดยผลแห่งกฎหมายทั้งตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงโดยชัดแจ้งให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคากรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืน ธนาคาร MMM จึงไม่อาจเรียกเอาค่าขาดราคาจากจำเลยทั้งสองได้   คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์ระหว่างจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อถึงวันที่จำเลยที่ ๒  ส่งมอบรถคืนแก่ธนาคาร MMM ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน ๗,๕๐๐  บาท   เหมาะสมแล้ว ส่วนค่าขาดราคาจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์   ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดค่าขาดราคานั้น   ศาลฎีกาเห็นไม่พ้องด้วย   ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้นบางส่วน

อนึ่ง คดีนี้โจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป

จนกว่าจะชำระเสร็จ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ   จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา    แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๗

 

พิพากษาแก้เป็นว่ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแต่เฉพาะค่าขาดประโยชน์   ๗,๕๐๐ บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี  นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๐) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์   เฉพาะค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นฎีกา  นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

เครดิต  :  รวมคำบรรยายเนติ ปี ๒๕๖๔

ทนายสายตรง.com
ปรึกษาอรรถคดีและว่าความทั่วราชอาณาจักร โดยทนายความชำนัญพิเศษเฉพาะทาง

บทความกฎหมาย

หลักการการขออายัดที่ดิน

ความหมาย   อายัดที่ดิน หมายถึง การขอให้ระงับการจดทะเบียนหรือการเปลี่ยนแปลงหางทะเบียน เกี่ยวกับที่ดินไว้ซึ่งระยะเวลาหนึ่ง ㆍ กฎหมายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง – ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๘๓ – คำสั่งกระหรวงมหาดไทย ที่ ๖๓๕/๒๕๔๗ ลงวันที่  ๒๓  ธันวาค

อ่านต่อ »

ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถคืน ตามมาตรา 573

#ผู้เช่าซื้อเลิกสัญญาโดยส่งมอบรถคืน  ตามมาตรา 573  ต้องเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นผู้ผิดสัญญา หากผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อก่อนส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อย่อมไม่อาจใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาตามมาตรา 573 ได้ #แต่หากผู้เช่า

อ่านต่อ »

ฎีกาฉบับเต็ม

#ไฟแนนซ์มีข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม  เป็นโมฆะ ? #ผู้ค้ำประกันทำสัญญายินยอมเป็นลูกหนี้ร่วมแทนสัญญาค้ำประกันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย ? #โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๒๕/๒๕๖๓  ( ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ ) เรื่อง  เช่าซื้อ  ค้ำ

อ่านต่อ »